พฤติกรรมของUFO

งานอันยากลำบากที่ ดร.เฟรดแมนได้ฟันฝ่ามาแล้วคือการวิเคราะห์ทางด้านเทคโนโลยีของจานบิน ด้วยความรู้ ความสามารถ และด้วยวิชาการของเขา เฟรดแมนได้แยกพฤติกรรมต่างๆของยูเอฟโอออกเป็นพวกๆ ดังนี้ 

(หมายเหตุ: ดร.เฟรดแมนเรียก UFO ว่า EEM ย่อมาจาก Earth Excursion Modules แปลว่า ยานบินที่มาลงบนโลกมนุษย์)


ด้านแสงและสี

1) อีอีเอ็ม สามารถเปล่งแสงสว่างในตัวเองได้ สามารถสังเกตได้ชัดเจนในที่มืด แสงที่เปล่งออกมามีสีของแสงแตกต่างกัน จากสีแดงเข้มจนถึงขาวเจิดจ้า และขาวเหลืองนวล (แสงสีนี้คาดว่าจะเป็นแสงที่เกิดจากการที่อณูของบรรยากาศรอบตัวยานถูกกระตุ้นด้วยคลื่นอิเลคโตรแมคเนติคอย่างใดอย่างหนึ่ง ทำให้มีการคายโฟตอนออกมา ลักษณะของแสงเรืองมีความคล้ายคลึงกับแสงเรืองที่เกิดจากแสงพลาสม่าในบรรยากาศ แสดงว่าอณูของก๊าซถูกกระตุ้นให้แตกตัวเป็นอิออนก็ได้)

2) แสงสีส้มหรือสีแดงเข้มสังเกตพบเมื่อยานหยุดอยู่นิ่งๆลอยตัวอยู่ในอากาศหรือบินด้วยความเร็วต่ำ เมื่อบินด้วยความเร็วสูงจะพบว่าแสงสีเปลี่ยนเป็นสีขาวเหลืองนวล (แสดงให้เห็นว่ามีการเพิ่มความเข้มของสนามอิเลคโตรแมคเนติครอบตัวยาน ในขณะทำการบินด้วยความเร็วสูง จึงส่งผลกระตุ้นให้อณูของบรรยากาศเกิดการแตกตัวและคายโฟตอนออกมามากขึ้น)

3) มีรายงานส่วนใหญ่แสดงให้เห็นว่า ยานอีอีเอ็ม มีจุดแสงสว่างอยู่ใต้ท้อง และตอนบนยอดโดม จุดแสงสว่างเหล่านี้มีหลายดวง และกระพริบเป็นจังหวะช้าๆ ในขณะที่นายอีอีเอ็มลอยตัวนิ่งๆกลางอากาศ แต่จะกระพริบเร็วสลับกันเป็นจังหวะเมื่อยานออกบินด้วยความเร็ว แสงไฟกระพริบจะมีสีแดงเข้ม และสีเขียว น้ำเงิน สลับควบคู่กันไป และจะอยู่ทางด้านตรงข้ามกันเสมอ (ในข้อนี้เข้าใจว่าเป็นอุปกรณ์อย่างหนึ่งที่ใช้ในการทรงตัวและเพิ่มอัตราเร่งของยาน จุดแสงเหล่านั้นอาจเป็นปากท่อจรวดอิออน หรือปากท่อไอโฟตอนก็ได้)


4) ในเวลากลางวัน จะเห็นยานเป็นสีของโลหะคล้ายโลหะที่เป็นเงาสะท้อนแสงแดดตลอดลำตัวยาน (นี่คือการเห็นอีอีเอ็มที่เปล่งแสงในตัวออกมา แต่ถูกความสว่างของแสงอาทิตย์กลบเสียหมดจึงทำให้เห็นยานในลักษณะดังกล่าว)

ด้านเสียง

1) ยานอีอีเอ็มไม่มีเสียง แต่...

2) ในระยะกระชั้นชิดจะไดยินเสียง หรือรู้สึกถึงความไหวสั่นของอากาศ เป็นเสียง ฮัม เบาๆ คล้าย "เสียงฝูงผึ้ง"... "เสียงหม้อแลงไฟบนเสาไฟฟ้าแรงสูง" ... "เสียงมอเตอร์เครื่องกำเนิดไฟฟ้า"

3) สุนัข แมว นก วัว ควาย และสัตว์เลี้ยงอื่นๆมักทำอาการหูผึ่ง ตื่นตระหนก และมักวิ่งหนีหาที่หลบซ่อน ก่อนการปรากฏตัวของยานอีอีเอ็ม (ทั้งสามข้อนี้แสดงให้เห็นว่า ยานอีอีเอ็มมีเสียง แต่เป็นเสียงที่อยู่ในย่านความถี่ที่หูมนุษย์ไม่อาจรับรู้ได้)

4) มีรายงานส่วนน้อยแจ้งว่า หลังจากการบินออกไปด้วยความเร็วสูงของยานอีอีเอ็ม จะได้ยินเสียงเหมือน "เสียงฟ้าคำราม" ดังมาแต่ไกลๆ (นี่แสดงว่ามีคลื่นกระแทกของอากาศ หรือ โซนิคบูม ซึ่งเกิดจากการแหวกอากาศออกไปของมวลสารด้วยความเร็วสูง และอากาศกระแทกตัวกลับทำให้เกิดเสียง เช่นเดียวกับฟ้าผ่า จะเกิดเสียงฟ้าร้อง) แต่รายงานส่วนใหญ่แจ้งว่าการบินออกไปของอีอีเอ็ม ไม่ทำให้เกิดเสียง (ซึ่งก็อาจวิเคราะห์ได้ว่าเป็นการบินออกไปด้วยความเร็วไม่ถึงความเร็วเสียง หรือ Subsonic flight เหตุที่ไม่เกิดเสียงเข้าใจว่า การแตกตัวของบรรยากาศรอบตัวยานโดยการกระตุ้นของสนามอีเลคโตรแมคเนติคที่ได้กล่าวไว้ในเรื่องแสงแล้วนั้น จะมีส่วนเกี่ยวข้องเป็นตัวเปิดทาง หรือเป็นเบาะที่เคยยืดหยุ่นการแหวกอากาศไปของมวลสารที่เป็นตัวยาน เมื่อการแหวกอากาศโดยมีการยืดหยุ่นเกิดขึ้น จึงไม่ทำให้มีแรงกระแทกตัวของอากาศเกิดขึ้น เสียงก็ไม่เกิดขึ้น กรณีนี้ยานต้องบินด้วยความเร็วต่ำกว่าเสียง)

ด้านการเคลื่อนไหว
1) การลดระดับบิน และการเพิ่มระดับบินของยานอีอีเอ็ม


ก) สามารถขึ้นลงในแนวดิ่งได้ เป็นแนวเส้นตรงหรือไต่ระดับ ค่อยๆขึ้นเหมือนเครื่องบินธรรมดา


ข) สามารถขึ้นลงได้ในลักษณะทิ้งตัวคล้ายใบไม้ร่วง


(ซึ่งลักษณะอาการนี้ เป็นลักษณะของการ "ดับเครื่องลง" อาการใบไม้ร่วงเป็นอาการของมวลที่มีน้ำหนักเบาตกลงมาในบรรยากาศโดยไม่มีแรงยกตัวมีแต่แรงต้านของอากาศพยุงตัวมันไว้ และรูปร่างของยานจะต้องมีการออกแบบทางอากาศพลศาสตร์ให้มีการต้านลมในแนวดิ่ง)


2) ความเร็วสูงสุด เท่าที่มีหลักฐานทางเรดาร์จับวัดไว้ได้ พบว่ามีความเร็วสูงถึง 50,000 ไมล์/ชม. (นับว่ามีความเร็วสูงกว่าจรวดนำวิถีชนิดใดๆที่มนุษย์เคยสร้างกันมา ความเร็วขนาดนี้ถ้าเป็นเครื่องบินธรรมดาจะต้องเกิดการเสียดสีกับบรรยากาศถึงจุดสันดาปทันที แต่ยานอีอีเอ็ม สามารถบินได้โดยไม่เกิดการสันดาปซึ่งอาจอธิบายได้ด้วยหลักการ "อากาศพลาสม่า" (Airborne Plasma System) ยานอีอีเอ็มจะต้องมีระบบเปิดทางบรรยากาศเพื่อไม่ให้มีการเสียดทานเกิดขึ้น ระบบนี้ในปัจจุบันเรากำลังศึกษากันอยู่ และกำลังทดลองกับจรวดนำวิถี (ICBM) โดยความเป็นไปได้แล้ว อาจอธิบายได้ว่า การสร้างสนามอีเลคโตรแมคเนติคปกคลุมรอบตัวยาน ทำให้อณูของบรรยากาศแตกตัวเป็นเบาะรองรับและยืดหยุ่นดังที่กล่าวมาแล้วนั้น จะต้องมีส่วนผลักโมเลกุลของอากาศออกโดยรอบตัวยาน ดังนั้น ตัวยานจึงมิได้สัมผัสกับบรรยากาศ จึงทำให้การเสียดสีกับบรรยากาศไม่สามารถเกิดขึ้นได้ การสันดาปจึงไม่เกิดขึ้น สรุปแล้ว ยานอีอีเอ็มไม่ได้บินเหมือนเครื่องบินที่มีใช้กันอยู่บนโลกเรา แต่มันบินอยู่ในสุญญากาศ หรือเกือบเป็นสุญญากาศ ซึ่งได้ถูกสร้างขึ้นปกคลุมรอบตัวยานโดยสนามอิเล็กโตรแมคเนติค นั่นคือยานอีอีเอ็มไม่ได้อาศัยบรรยากาศเป็นเครื่องพยุงตัวมันอย่างเช่นเครื่องบิน)

3) บางครั้งพบว่า ยานอีอีเอ็ม บินในลักษณะ "ซิกแซก" ขึ้นๆลงๆ หรือซ้ายไปขวาในแนวนอนหรือวกกลับไปกลับมาหรือขึ้นๆลงๆคล้ายลูกดิ่ง "โยโย" (Yo-Yo)

4) ในการลอยตัวอยู่นิ่งๆกลางอากาศ ลักษณะการหยุดนั้นได้หยุดอยู่นิ่งๆ แต่เป็นลักษณะอาการลอยอยู่อย่างกระเพื่อมขึ้นๆลงๆ คล้ายอาการที่จุกไม้ก๊อกลอยอยู่ในน้ำที่มีคลื่นลม (ลักษณะในข้อ 3 และ 4 นี้แสดงให้เห็นอาการผิดปกติจากยานธรรมดาและดูจะขัดกับความเป็นจริงในแง่ของฟิสิกส์ปัจจุบัน ถ้ามองดูให้ลึกซึ้งแล้วจะเห็นว่า นี่คืออาการของมวลสารที่มีปฏิกิริยาต่อแรงโน้มถ่วง เป็นปรากฏการณ์ของมวลสารที่เกี่ยวข้องกับแรงโน้มถ่วงของโลก สมมุติว่าเรานำเอาลูกบอลมาโยงด้วยเส้นยางหนังสติ๊กเส้นเล็กๆ โดยยึดโยงเอาไว้สักหกทิศทาง บนล่าง ซ้ายขวา หน้าหลัง แล้วเอาปลายของยางผูกไว้กับเพดาน และข้างฝาห้องทั้งสี่ด้าน ดึงให้เส้นยางทุกเส้นตึงตรง เราก็จะได้ลูกบอลเสมือนกับลอยอยู่กลางห้อง ถ้ามีแรงกระทำลูกบอลนั้น จะทำให้เกิดอาการแกว่งไปมาในลักษณะกระเพื่อมเกิดขึ้น การทดลองนี้แสดงให้เห็นว่าแรงโน้มถ่วงและแรงเฉื่อยได้ถูกควบคุมให้อยู่ในสภาวะสมดุลโดยรอบ เส้นยางสดิ๊กเปรียบเสมือนแรงดึงดูดของแรงโน้มถ่วง...)


พฤติการณ์ด้านอื่นๆ

1) เครื่องยนต์เบนซิน และเครื่องยนต์ที่ใช้ไฟฟ้าจะหยุดการทำงานเมื่อยานอีอีเอ็มบินเข้ามาใกล้ชิด ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับระบบไฟฟ้าที่เห็นได้ชัดได้แก่ ไฟฟ้าหน้ารถยนต์จะหรี่ลงหรือดับไป แบตเตอรี่รถยนต์จะเดือด คอยล์ (Coils) หรือขดลวดไฟฟ้าสำหรับจานจ่ายไฟไปหัวเทียนในเครื่องยนต์ลูกสูบจะเกิดความร้อนจัดหรือไหม้ วิทยุในรถหยุดทำงาน หรือเกิดเสียงซู่ซ่าแกรกกรากรบกวนอย่างหนักดังออกมาที่ลำโพง บางครั้งวิทยุนั้นไม่ได้เปิด แต่มีเสียงรบกวนดังออกมาที่ลำโพง... แต่พบว่าเครื่องยนต์ดีเซลจะไม่หยุดทำงานเมื่ออีอีเอ็มบินเข้ามาใกล้ ทั้งๆที่ระบบไฟฟ้าอย่างอื่นเช่นไฟหน้ารถ วิทยุ และแบตเตอรี่จะมีผลกระทบดังกล่าว (อาการแปลกประหลาดเช่นนี้หมายความว่า มีการรบกวนเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของอิเล็กตรอนเกิดขึ้น เครื่องยนต์ดีเซลไม่ได้ใช้ไฟฟ้าในการจุดระเบิด มันไม่มีหัวเทียน ดังนั้นจึงไม่ถูกรบกวน สาเหตุของการรบกวนเช่นนี้มีได้หลายอย่าง เช่น เกิดจากสนามแม่เหล็กแรงสูงเป็นต้นเหตุ เกิดจากสนามไฟฟ้าแรงสูงเป็นต้นเหตุ และเกิดจากสนามคลื่นอิเล็กโตรแมคเนติคเป็นต้นเหตุก็ได้)

2) ในบริเวณที่มีการลงจอดของยานอีอีเอ็ม จะพบร่องรอยของผิวดินกอหญ้าบริเวณที่อยู่ใต้ท้องตัวยาน มีลักษณะเหมือนถูกดูดให้พลิกกลับขึ้นด้วยอะไรบางอย่างที่มีลักษณะการหมุนไปเป็นวงกลม มีรายงานอีกสองสามชิ้นแจ้งว่า สังเกตเห็นยานอีอีเอ็มขณะลอยผ่านยอดต้นสนไป ยอดไม้จะเอนตัวเข้าหา ชี้ไปยังใต้ท้องยาน (ลักษณะปรากฏการณ์เช่นนี้ แสดงว่ายานอีอีเอ็มมีสนามพลังอะไรบางอย่างที่ดูด หรือส่งแรงมาดูดมวลสารได้ แต่จากการวิเคราะห์ดูกับระบบขับเคลื่อนที่ควรจะเป็นไปได้ของยานอีอีเอ็มแล้ว คาดว่าอาการคล้ายแรงดูดนั้นเกิดจากการบ่ายเบนของสนามแรงโน้มถ่วงของโลกใต้ท้องตัวยาน มากกว่าที่จะเป็นแรงดึงดูดอะไรส่งลงมาจากยาน ทั้งนี้เมื่อพิจารณาในแง่ที่ว่ายานอีอีเอ็มบินได้โดยวิธีการควบคุมหรือบ่ายเบนแรงโน้มถ่วง)

3) มีแรงผลักที่มองไม่เห็นอยู่รอบๆตัวยาน เมื่อผู้ประสบเหตุพยายามจะเข้าไปใกล้ขณะที่เห็นยานอีอีเอ็มลงจอดใหม่ๆ (อาจมีสนามพลังงานบางอย่างอยู่รอบตัวยาน หรืออาจเป็นสนามแรงโน้มถ่วงของโลกที่ถูกบ่ายเบนออกมาก็ได้)

4) มีรอยไหม้ไฟปรากฏอยู่ที่พื้น กอหญ้า หรือพุ่มไม้ ที่ที่ยานอีอีเอ็มได้ลงจอด

5) ไม่ปรากฏการแผ่รังสีปรมาณูสูงผิดปกติในบริเวณที่อีอีเอ็มลงจอด

6) มีกลิ่นเหม็นปรากฏในบรรยากาศเหนือบริเวณที่อีอีเอ็มปรากฏตัว เป็นกลิ่นเหม็นเหมือน "กลิ่นสีทาบ้านไหม้ไฟ"... "เหมือนกลิ่นเผากำมะถันจางๆ" (ทั้ง 2 ข้อนี้แสดงให้เห็นชัดว่า เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดจากการที่บรรยากาศรอบตัวยานอีอีเอ็มถูกไอโอไนส์ด้วยสนามอิเล็คโตรแมคเนติคแรงสูง)

7) บางครั้งโลหะที่เป็นสารแม่เหล็ก เช่น สะพานเหล็ก เสาปักป้ายจราจรที่เป็นเหล็ก ตัวถังรถยนต์โลหะเหล่านี้จะกลายเป็นแม่เหล็กชั่วคราว ภายหลังที่ยานอีอีเอ็มบินผ่านไปในระยะกระชั้นชิด (แสดงว่า สารแม่เหล็กถูกเหนี่ยวนำจากสนามแม่เหล็ก หรือสนามอิเล็คโตรแมคเนติคแรงสูง)

8) การสื่อสาร เช่น วิทยุ เรดาร์ ทีวี โทรศัพท์ จะถูกรบกวนหรือใช้งานไม่ได้ เมื่อยานอีอีเอ็มปรากฏตัวอยู่ใกล้ๆอุปกรณ์การสื่อสารเหล่านั้น (แสดงถึงผลรบกวนอันเกิดจากสนามแม่เหล็กหรือสนามอิเล็คโตรแมคเนติคแรงสูง)

9) สีที่ทาเคลือบไว้บนผิวโลหะ เช่น สีรถยนต์ สีบนป้ายจราจร มักปรากฏปูดบวมขึ้นมาเป็นจุด เป็นดวงด่างคล้ายกับเกิดการเดือดของสีเพราะความร้อน บางครั้งพบว่าสีนั้นเปลี่ยนสีไปจากเดิมในขณะที่ยานอีอีเอ็มเฉียดเข้ามาใกล้ (ปรากฏการณ์นี้อาจเป็นผลรบกวนเกิดจากคลื่นอิเล็คโตรแมกเนติคที่มีความถี่สูงมากๆ)

10) บางคนถูกลวกด้วยความร้อนที่มองไม่เห็นเมื่อพยายามเข้าไปใกล้ยานอีอีเอ็มที่ลงจอด บริเวณผิวกายที่ถูกลวกด้วยความร้อนนั้นจะเกิดขึ้นเฉพาะที่ผิวหนังตอนที่อยู่ภายใต้ร่มผ้าเท่านั้น อาการถูกลวกเป็นอาการปวดแสบปวดร้อน และทำให้ผิวหนังส่วนนั้นแสบและแดงบวม เช่นเดียวกับอาการถูกแดดเผา (นี่คืออาการผลกระทบเกิดจากคลื่นเสียงความถี่สูง หรือคลื่นอุลตร้าโซนิค) 

11) มีหลายงานที่เชื่อถือได้อยู่หลายสิบฉบับพบว่าเห็นยานอีอีเอ็มพุ่งลงน้ำ หรือแล่นไปใต้น้ำ หรือโผขึ้นจากทะเลบินขึ้นสู่บรรยากาศ ยังผลให้น้ำทะเลมีอาการเดือดเป็นฟองสีเหลือง (พฤติกรรมเช่นนี้ แสดงอย่างชัดเจนว่ายานอีอีเอ็ม ต้องมีสนามพลังปกคลุมอยู่รอบตัวยาน ซึ่งทำให้มันเป็นยานที่อยู่ในสุญญากาศหรือสภาวะเกือบสุญญากาศ มันสามารถบินอยู่ในบรรยากาศหรือลงใต้น้ำได้ โดยไม่ต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมตัวกลางที่มันเคลื่อนผ่านเข้าไป ไม่ว่าตัวกลางนั้นจะเป็นที่ว่างในอวกาศ เป็นก๊าซ หรือเป็นของเหลว เช่นน้ำทะเล อาการเดือดของน้ำทะเลจนเป็นฟองสีเหลืองคงเกิดจากการที่โมเลกุลของน้ำทะเล ซึ่งเป็นของเหลวที่เป็นสารประกอบและของผสม มีแร่ธาตุ เกลือแร่ต่างๆมากมาย ถูกไอโอไนส์ด้วยสนามอีเลคโตรแมกเนติครอบตัวยาน เช่นเดียวกับที่อากาศถูกไอโอไนส์)

จากบทวิเคราะห์ในแง่เทคโนโลยีของดร.เฟรดแมนที่ได้นำมาแสดงนี้จะพบว่า พฤติการณ์ลึกลับต่างๆในแง่เทคโนโลยีของจานบินยูเอฟโอได้รับการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ ซึ่งนำไปสู่การสรุปของเขาว่า...

"พฤติกรรมและปรากฏการณ์เหล่านี้ ผมแน่ใจว่ามันไม่ใช่ปรากฏการณ์ธรรมชาติ หรือความเข้าใจผิด หรือจินตนาการอย่างแน่นอน และผมกล้ายืนยันได้เลยว่า สิ่งต่างๆเหล่านี้ไม่ใช่เทคโนโลยีบนโลกมนุษย์ปัจจุบันอย่างแน่นอน ยานอีอีเอ็มต้องเป็นยานบินที่ควบคุมโดยสิ่งที่มีชีวิต มีสติปัญญาสูงและเฉลียวฉลาดมาก ไม่ว่าสิ่งมีชีวิตนั้นจะเป็นมนุษย์เหมือนอย่างพวกเรา หรือเป็นรูปแบบใดก็ตาม เจ้าสิ่งมีชีวิตนั้นมีเทคโนโลยีสูงกว่ามนุษย์โลกมากนัก ยานอีอีเอ็มเป็นยานบินที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดอย่างที่ผมไม่เคยนึกฝันมาก่อน มันได้รับการออกแบบมาเพื่อการบินในสภาพการณ์ต่างๆแทบทุกอย่าง มันคือยานบินสำรวจดวงดาวชนิดสมบูณ์แบบ ลองคิดดูซิว่า ถ้าเราจะต้องไปสำรวจดาวพฤหัสซึ่งเต็มไปด้วยทะเล ก๊าซมีเทน หรือสำรวจดาวพระศุกร์ที่เต็มไปด้วยกรดซัลฟูริค เราจะใช้ยานอวกาศแบบใดที่จะฝ่าลงไปได้ แต่ถ้าเป็นยานแบบเดียวกันกับอีอีเอ็มนี่ล่ะก็ ไม่มีปัญหา มันสามารถลงไปได้อย่างสบาย ด้วยเกราะสนามพลังที่มีอยู่รอบตัวยานจะช่วยแก้ปัญหาทุกอย่างได้โดยสิ้นเชิง ยานอีอีเอ็มอาจจะดำดิ่งลงไปในทะเลฮีเลียมเหลวบนดาวพลูโตได้อย่างสบาย ถ้าเราสร้างยานบินอวกาศให้ได้อย่างอีอีเอ็ม"
 

จากหนังสือ จานบินวิเคราะห์





โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ยูเอฟโอ (UFO) คืออะไร?

วิทยาศาสตร์ล้ำยุค

kaokalaUFOcontact: มนุษย์ต่างดาวตอบคำถามเกี่ยวกับจักรวาล